บทความ

ผู้สูงอายุ กับ ระบบทางเดินอาหาร

ผู้สูงอายุ กับ ระบบทางเดินอาหาร

วัยสูงอายุนั้น ระบบร่างกายก็จะเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น เกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือทำให้ระบบร่างกายทำงานผิดปกติได้ ระบบทางเดินอาหาร ก็เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อร่างกายของคนเรา เพราะร่างกายของเราต้องการอาหารในทุกวัน วันละ 3 มื้อเป็นอย่างน้อย เมื่อร่างกายทำงานผิดปกติ จึงเกิดปัญหาตามมานั่นเองค่ะ!

 

ระบบทางเดินอาหารของผู้สูงอายุ ที่เสื่อมประสิทธิภาพลง และทำให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ มีการทำงานในส่วนต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน ดังนี้

 

   1. ช่องปากและฟัน เยื่อบุช่องปาก

เยื่อบุช่องปากจะบางลง แต่ยังสามารถแบ่งตัวเป็นปกติ น้ำลายจากต่อมน้ำลายลดลงบ้าง เนื้อฟันในผู้สูงอายุจะลดความทึบลง เหงือกร่นลงจากคอฟัน ขณะที่กระดูกขากรรไกรหดลงเรื่อยๆ ทำให้ฟันเริ่มโยกคลอนได้ง่าย และยิ่งเมื่อมีหินปูนมาเกาะเกิดการติดเชื้อซ้ำเติม เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ฟันร่วงก่อนอายุ 50 ปี และนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการในที่สุด

 

   2. หลอดอาหาร

เมื่อผ่านช่องปากมา ก็จะเป็นส่วนของการทำงานของหลอดอาหาร ความเสื่อมโทรมของร่างกาย จะทำให้การไหลผ่านของอาหารจากลำคอสู่กระเพาะอาหารช้าลง

 

   3. กระเพาะอาหาร

ต่อจากหลอดอาหาร อาหารที่กินก็จะเคลื่อนเข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งในผู้สูงอายุน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารลดความเป็นกรดลง

 

   4. ตับ

น้ำหนักของตับจะลดลงถึง 25 % จากอายุ 20 ปี ถึง 70 ปี เนื่องจากเซลล์ตับลดจำนวนลง ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนผ่านตับจึงลดได้ถึง 35 % จากอายุ 20 ปี ถึง 90 ปี ทำให้การกำจัดยาที่เข้าสู่ร่างกาย ช้าลง ผู้สูงอายุจึงมีความโน้มเอียงในการเกิดพิษจากยาและแอลกอฮอล์ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป

 

   5. ลำไส้

มีการเคลื่อนตัวช้าลง ทำให้ท้องผูกได้ง่าย ส่วนความสามารถในการดูดซึมอาหารไม่ลดลง โดยเฉพาะการดูดซึมไขมันไม่แตกต่างไปจากคนวัยหนุ่มสาว แต่การดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนลดลงเล็กน้อย

 

 

 

   อย่างไรก็ตาม เราควรใส่ใจดูแลในเรื่องอาหารของผู้สูงอายุให้มีความเหมาะสม ทั้งปรุงอาหารที่มีความอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย เคี้ยวง่าย กลืนง่าย และย่อยง่าย รวมถึงวิตามิน อาหารเสริมที่จำเป็นด้วย

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.thaihealth.or.th