บทความ
ภัยเงียบ มะเร็งกระเพาะอาหาร
ภัยเงียบ มะเร็งกระเพาะอาหาร
วันนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุด นั่นก็คือโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร นั่นเอง! โรคมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรคที่ติดอันดับที่สี่ของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุด จากสถิติในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1,100 ราย โดยการเกิดเนื้อร้ายของมะเร็งมักเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ของเยื่อบุกระเพาะอาหารซึ่งมีจำนวนมากผิดปกติจนก่อให้เกิดเป็นมะเร็ง ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของกระเพาะอาหาร ทั้งยังสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอดและรังไข่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองด้วย
ของหมักดอง อาหารรมควัน อันตรายที่คาดไม่ถึง !!
รู้หรือไม่ !! การรับประทานอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป ปลาเค็ม อาหารปิ้งย่างรมควัน หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ รวมไปถึงผู้ที่เคยเป็นโรคมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะอาหารได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบ เกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และหากเป็นแผลเรื้อรังก็อาจทำให้กลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในที่สุด
อาการเบื้องต้นที่ควรสังเกต
เนื่องจากอาการจะเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร ทำให้คนทั่วไปมักคิดว่าตนเองเป็นแค่โรคกระเพาะธรรมดาๆ ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้ ควรหมั่นสังเกตและหาโอกาสไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไรแน่ จะได้รักษาให้ตรงจุดต่อไปค่ะ
- อาหารไม่ย่อย รู้สึกไม่สบายท้อง
- ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
- คลื่นไส้เล็กน้อย
- รู้สึกเบื่ออาหาร
- แสบร้อนบริเวณหน้าอก
แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้นดังต่อไปนี้ ขออย่าได้รีรอที่จะเข้ารับการตรวจค่ะ
- รู้สึกอ่อนเพลีย
- มีเลือดปนในอุจจาระ
- อาเจียน โดยอาจมีอาเจียนเป็นเลือดได้
- น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดท้องหรือท้องอืดหลังรับประทานอาหารเป็นประจำ
วิธีป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร
- เข้ารับการตรวจคัดกรองเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไป เพราะเป็นโรคที่รักษาได้ถ้าตรวจเจอในระยะแรก
- งดอาหารที่มีรสเค็ม อาหารปิ้งย่างรมควันที่ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และทำให้เกิดมะเร็งได้
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
- รับประทานผักและผลไม้
- ไม่สูบบุหรี่
- รีบปรึกษาแพทย์หากพบว่ามีความเสี่ยงการเกิดโรค หรือเริ่มมีอาการที่น่าสงสัย
โดยอาการของโรคในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงที่เฉพาะและอาจมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคกระเพาะอาหาร มีอาการเรื้อรัง คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด ถ้าอาการเป็นมากขึ้น อาจมีอาการถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือด มีอาการซีด อ่อนเพลียตามมา เพราะฉะนั้น เราจึงควรสังเกตตัวเองให้ดีค่ะ เพื่อจะได้รู้ตัว และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด ก่อนจะสายเกินแก้ค่ะ
ขอขอบคุณ
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.phyathai.com/