บทความ
8 วิธีป้องกัน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
8 วิธีป้องกัน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
วันนี้มีสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับวิธีป้องกัน กระเพาะปัสสาวะอักเสบมาแชร์ค่ะ เป็นเรื่องที่อยู่ไม่ไกลตัวเลย แถมสำคัญอีกด้วย ไปดูกัน!!
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection หรือ UTI) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้น อยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่าย ขณะที่ผู้ชายมีท่อปัสสาวะยาวกว่าและอยู่ห่างจากทวารหนัก โอกาสที่เชื้อโรคจะผ่านเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะจึงมีน้อยกว่ามาก
วิธีป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีดังนี้
1. การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ทำให้เชื้อโรคในปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้น ถ้ารู้สึกปวดปัสสาวะต้องบังคับตัวเองให้เข้าห้องน้ำทันที
2. การดูแลรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้หญิงหากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี เช่น เช็ดทำความสะอาดจากด้านหลังมาด้านหน้า แทนที่จะเป็นจากด้านหน้าไปด้านหลังก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อจากช่องคลอดและทวารหนักได้
3. การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ ทำให้แบคทีเรียชนิดดีที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคถูกกำจัดออกไป จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ดังนั้นไม่ควรสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ การทำความสะอาดด้วยสบู่ธรรมดาก็เพียงพอแล้ว
4. การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ควรปัสสาวะทิ้งและทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์
5. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงลดลงทำให้ความชุ่มชื้นบริเวณเยื่อบุช่องคลอดและเยื่อบุท่อปัสสาวะ ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อลดลงตามไปด้วย ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หากมีการติดเชื้อซ้ำๆ อาจจำเป็นต้องใช้ยาปรับฮอร์โมนแบบเฉพาะที่ช่วย เช่น ยาเหน็บ แต่เนื่องจากการใช้ฮอร์โมนอาจมีผลข้างเคียงได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
6. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากควบคุมโรคได้ไม่ดีก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว
7. ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน มีโอกาสเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
8. ผู้สูงอายุหลายรายเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เนื่องจากนอนหลับนานๆ โดยไม่ลุกมาปัสสาวะ จึงไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานผลไม้ที่มีน้ำมากๆ ก่อนเข้านอน
เอาล่ะค่ะ เมื่อได้สาระความรู้ดีๆ กลับไปแล้ว ลองนำไปปรับใช้ แก้ไขพฤติกรรมของเราในชีวิตประจำวันดูนะคะ และหากสังเกตเห็นว่าตัวเองมีอาการหนักเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่ง ก็ควรจะไปพบแพทย์ ดีกว่านะคะ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือการได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีค่ะ
ขอขอบคุณ
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.bumrungrad.com/